เที่ยวปทุมธานี ใกล้กรุงเทพ หอนิทรรศน์ปทุมธานี หอจำลองวิถีชีวิตของชาวมอญ ที่หลายคนไม่เคยรู้

“หอนิทรรศน์ปทุมธานี” ศูนย์รวมเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของเมืองปทุมธานี วิถีชีวิตชาวมอญที่อยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา

หอนิทรรศน์ปทุมธานี

ด้านในของหอนิทรรศน์รวบรวมเรื่องราวประเพณีต่างๆของจังหวัดปทุมธานี ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

หอนิทรรศน์ปทุมธานี

Credit:Chill Chill Trip

ทางเมืองได้นำอาคารศาลากลางหลังเก่าตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 มาทำเป็นหอนิทรรศน์ และปรับปรุงแบ่งเป็นห้องๆ มีทั้งห้องประวัติสามโคก ห้องวิถีชาวมอญ และห้องแผนที่เมืองปทุมธานี

หอนิทรรศน์ปทุมธานี

Credit:Chill Chill Trip

ศาลากลางจังหวัดปทุมธานี(หลังเก่า) เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ได้รับอิทธิพลศิลปะตะวันตก พื้นล่างยกสูงราว ๑ เมตร ก่อผนังปิดใต้ถุนโดยรอบ ด้านหน้ามีมุขกลางซ้อนกัน ๒ ชั้น มีปีกยื่นออกมาทั้ง ๒ ข้าง ด้านหลังมุขเป็นตัวอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

หอนิทรรศน์ปทุมธานี

Credit:Chill Chill Trip

ด้านหน้าของมุขและอาคารมีลูกกรงปูนปั้นเป็นแบบลูกมะหวดประดับขอบหน้าบันของมุขทำเป็นรูปโค้งประดับขอบด้วยลวดลายปูนปั้นแบบยุโรป ตรงกลางหน้าบันมีครุฑเป็นสัญลักษณ์

หอนิทรรศน์ปทุมธานี

Credit:Chill Chill Trip

หลังคามุงกระเบื้องซีเมนต์ ตรงปีกหน้ามุขและระเบียงอาคารทั้ง ๒ ข้าง ระดับช่องลมประดับด้วยไม้ฉลุลาย ช่องลมช่องระบายอากาศเหนือประตูหน้าต่างเป็นไม้ฉลุลายเช่นกัน ประตูหน้าต่างเป็นบานไม้เปิดคู่ ศาลากลางจังหวัดปทุมธานีหลังเก่านี้ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานอีกด้วยนะ

หอนิทรรศน์ปทุมธานี

Credit:Chill Chill Trip

พอเข้าไปในตัวอาคารเราจะพบห้องประชาสัมพันธ์ก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งทางหอนิทรรศน์จังหวัดปทุมธานีได้จัดเจ้าหน้าที่ดูแลคอยบอกเล่าเรื่องราวไว้ต่างๆ ให้เรา ซึ่งสามารถแนะนำเป็นภาษาอังกฤษได้ด้วย

หอนิทรรศน์ปทุมธานี

Credit:Chill Chill Trip

ห้องแรกตรงทางเข้าจะเป็นบ้านมอญ ที่แสดงวิถีชีวิตของชาวมอญ ว่ามีการดำเนินชีวิตกันอย่างไร อาหารการกินเป็นแบบไหน มีของใช้อะไร และมีการค้าอะไรบ้างที่สำคัญต่อประเทศ

หอนิทรรศน์ปทุมธานี

Credit:Chill Chill Trip

มีการสร้างบ้านจำลอง ตัวบ้านจะเป็นบ้านไม้สองชั้น ชั้นล่างยกพื้นสูงเพื่อให้อากาศถ่ายเท และเอาไว้พักหลบแดด ทั้งเป็นที่เก็บอุปกรณ์หาเลี้ยงชีพ รวมถึงยังนำหัวหอม กระเทียมมาแขวนไว้ที่ชั้นใต้ถุนนี้

หอนิทรรศน์ปทุมธานี

Credit:Chill Chill Trip

ที่นี่ยังเล่าถึงการอพยพของชาวมอญเมื่อครั้งในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่ย้ายหนีพม่าเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร

หอนิทรรศน์ปทุมธานี

Credit:Chill Chill Trip

ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระชัยราชาธิราช จนถึง รัชกาลที่ 2 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มาตั้งบ้านเรือนแถบชานพระนคร รวมถึงบริเวณบ้านสามโคกนี้ด้วย

หอนิทรรศน์ปทุมธานี

Credit:Chill Chill Trip

ทางหอนิทรรศน์จัดจำลองวิถีชีวิตและอาหารหลัก ๆ ของชาวมอญที่ทุกบ้านมักจะนำปลามาตากแห้งเพื่อเป็นการถนอมอาหาร

หอนิทรรศน์ปทุมธานี

Credit:Chill Chill Trip

ห้องต่อไปจะบอกเล่าถึงประวัติและประเพณีต่าง ๆ ของชาวมอญที่อาศัยอยู่สองฟากฝั่งลำน้ำเจ้าพระยา เป็นถิ่นฐานของชาวมอญเมืองสามโคก

หอนิทรรศน์ปทุมธานี

Credit:Chill Chill Trip

สมัยนั้นคนจะเรียกบ้านเรือนของชาวมอญว่า บ้านเรือนมอญขวาง เป็นคำเรียกการปลูกเรือนของชาวมอญสมัยนั้นเพราะมีลักษณะปลูกเรือนขวางแม่น้ำและชายคาเรียงชิดติดๆ กัน

หอนิทรรศน์ปทุมธานี

Credit:Chill Chill Trip

ตุ่มสามโคก หรือ ตุ่มอีเลิ้ง (โอ่งแดง) ลักษณะปากและก้นแคบ ป่องกลาง เนื้อดินสีแดงใบไม่ใหญ่นักและมีขนาดเล็กใหญ่ต่างๆ กัน

หอนิทรรศน์ปทุมธานี

Credit:Chill Chill Trip

เคยปรากฏข้อความถึงการทำอาหารพวกน้ำยาจำนวนมาก ชาวบ้านก็จะทำใส่ตุ่มอีเลิ้งหลายๆ ใบมาใส่น้ำยาเพื่อเลี้ยงคน จึงไม่ได้จำเพราะว่าตุ้มอีเลิ้งจะใส่เพียงน้ำดื่มเท่านั้น

หอนิทรรศน์ปทุมธานี

Credit:Chill Chill Trip

ตักบาตรพระร้อย ประเพณีที่ชาวมอญยึดถือปฏิบัติกันมายาวนานนับร้อยปี พอถึงช่วงเทศกาลวันออกพรรษา วัดริมฝั่งน้ำแถบจังหวัดปทุมธานีจะเตรียมพื้นที่ ทำการขึงเชือก ประดับทิวธง สำหรับทำบุญตักบาตร ชาวบ้านจะประกอบอาหารเพื่อนำมาใส่บาตรกันตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ที่เรียกชื่อกันว่า ประเพณีตักบาตรพระร้อย

หอนิทรรศน์ปทุมธานี

Credit:Chill Chill Trip

ข้าวแช่ เป็นอาหารที่มีถิ่นกำเนิดจากชาวมอญในดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และใช้ประกอบในเทศกาลสงกรานต์ของชาวมอญ จนถือเป็นประเพณีสืบต่อกันมาว่า ในวันสงกรานต์จะต้องทำข้าวแช่ถวายพระ เพื่อความเป็นสิริมงคล จากนั้นคนไทยได้รับเอาวัฒนธรรมข้าวแช่ของชาวมอญมาใช้ ซึ่งในตอนแรกข้าวแช่จะมีอยู่แค่ในรั้วในวังเท่านั้น แต่ต่อมาก็เป็นที่นิยมแพร่หลาย

หอนิทรรศน์ปทุมธานี

Credit:Chill Chill Trip

ประเพณีขนทรายเข้าวัดนั้น เป็นคติความเชื่อเรื่องเวรกรรมในพระพุทธศาสนาแต่โบราณ มีการก่อพระเจดีย์ทรายถวายวัดเพื่อนำเศษดินทรายที่ติดเท้าออกจากวัดไปมาคืนวัด โดยการนำไปก่อเป็นเจดีย์ทราย ถือเป็นประเพณีที่สืบต่อกันมายาวนานแล้ว

หอนิทรรศน์ปทุมธานี

Credit:Chill Chill Trip

หอนิทรรศน์ปทุมธานี

ที่อยู่Thet Pathum Road, ตำบล บางปรอก อำเภอเมืองปทุมธานี ปทุมธานี 12000 ไทย
ค่าเข้าฟรี
เวลาทำการ 08:30 น. – 17:30 น.
Websiteหอนิทรรศน์ปทุมธานี
  1. 1 CAFE THE PARK คาเฟ่วิวภูเขาฟูจิ ชิคๆริมทะเลสาบยามานาคา (Lake Yamanaka) วิวภูเขาไฟฟูจิ (Mt.Fuji) ชิมแพนเค้กแสนอร่อยสูตรต้นตำรับ
  2. 2 Hie shrine ศาลเจ้าฮิเอะ ขอพรเรื่องธุรกิจเจริญรุ่งเรือง สมหวังเรื่องความรัก ในโตเกียว Tokyo
  3. 3 เฟอเรท (Ferret) วิธีเลี้ยง อาหาร นิสัยของเจ้าเฟอเรทที่มาพร้อมกับความซุกซนอันแสนน่ารัก
  4. 4 กระรอกบิน ชูก้า ไกลเดอร์ (Sugar glider) มารู้จักนิสัย ราคา การเลี้ยงดู อาหาร ตากลมแบ๊วแสนน่ารักแต่นิยมการผาดโผน
  5. 5 วัดเขาทำเทียม สุพรรณบุรี เที่ยวชมพระพุทธรูปหินแกะสลักที่หน้าผา อู่ทอง สุพรรณบุรี ใกล้กรุงเทพ ไปเช้าเย็นกลับได้