วัดสว่างหัวนาคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ กราบไหว้พระ ชมอุโบสถสิมอีสานไม้พันชาติ หนึ่งในวัดสวยแห่งภาคอีสาน

พาเพื่อนๆเที่ยววัดสว่างหัวนาคำ จ.กาฬสินธุ์ จุดเช็คอินแบบคนเข้าวัดฟังธรรมต้องมาสักครั้ง ถ่ายรูปสวย มาแล้วได้บุญสบายใจ

วัดสว่างหัวนาคำ

อีสานสนุกวันนี้ เราพาเพื่อนๆมาเที่ยววัดกัน นี่คือวัดสว่างหัวนาคำ ตั้งอยู่ที่ตำบลหัวนาคำ อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ วัดสว่างหัวนาคำเป็นวัดเก่าแก่ที่มีอยู่ในหมู่บ้านมานานเป็นประวัติโบราณ ในอดีตชาวบ้านเคยเรียกวัดนี้ว่า “วัดบ้าน” หรือ “วัดใหญ่”

วัดสว่างหัวนาคำ

Credit:Chill Chill Trip

ตั้งอยู่ที่เลขที่ 2 หมู่ที่ 1บ้านหัวนาคำ ตำบลหัวนาคำ อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นสถานที่สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2272 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งแรกในปี พ.ศ. 2342 ผ่านป้ายวัด ทางเข้าพระอุโบสถ เข้ามาเราก็จะเจอรูปปั้นขนาดใหญ่มาก หนึ่งในนั้นคือท้าวเวสสุวรรณ เทพแห่งความมั่งคั่งและเงินทองโชคลาภ

วัดสว่างหัวนาคำ

Credit:Chill Chill Trip

หลังจาากผ่านเข้ามาในบริเวณวัดแล้วจะเจอการประดับตกแต่งวัดอย่างแบบอีสานแท้ๆ มีร่มที่ทำมาจากลายผ้าขาวม้าและการประดับตุงหรือธุง ที่เป็นธงที่ใช้ด้ายถักทอสวยๆห้อยลงมา

วัดสว่างหัวนาคำ

Credit:Chill Chill Trip

ในงานบุญประเพณีแต่ละเดือนของชาวอีสานมักจะประดิษฐ์ “ตุง” หรือ “ธุง” ในรูปแบบที่หลากหลายและมีสีสันที่ต่างกันบนผืนผ้าหรือวัสดุอื่น ๆ เพื่อสื่อความหมายระหว่างมนุษย์กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ตามความเชื่อที่มีมาแต่โบราณในภูมิภาคอีสาน

วัดสว่างหัวนาคำ

Credit:Chill Chill Trip

บริเวณด้านหน้าวิหารลานโพธิ์ จะเป็นอุโบสถสวยงาม ด้านหน้ามีพญานาคอยู่สองตนเฝ้าอยู่ และมีต้นโพธิ์

วัดสว่างหัวนาคำ

Credit:Chill Chill Trip

ลานกว้างสะอาดแห่งนี้นิยมถูกนำมาใช้เป็นสถานที่อบรมและสถานปฏิบัติธรรมอยู่เสมอๆ มีความสงบมากๆ

วัดสว่างหัวนาคำ

Credit:Chill Chill Trip

หนึ่งในจุดเด่นที่สำคัญของวัดสว่างหัวนาคำคือ อุโบสถสิมอีสานไม้พันชาติ ซึ่งถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2552 โดยหลวงพ่อพระครูศรีปริยัติโชติธรรม ได้ออกแบบตามจินตนาการของท่าน

วัดสว่างหัวนาคำ

Credit:Chill Chill Trip

โดยยึดแบบศิลปะล้านช้างเป็นหลัก และผสมศิลปะล้านนา ส่วนลวดลายประติมากรรมไม้แกะสลักถูกสร้างขึ้นโดยช่างผู้ชำนาญเมืองเหนือและช่างของภาคอีสานร่วมกัน ใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 9 ปี และสิ้นสุดการก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2561

วัดสว่างหัวนาคำ

Credit:Chill Chill Trip

สิ่งก่อสร้างหลายหลังมาจากการขอรับบริจาคไม้พันชาติและไม้เนื้อแข็งจากชาวบ้านในหมู่บ้าน หมู่บ้านใกล้เคียง และในต่างจังหวัด ร่วมด้วยช่วยกัน น่าดีใจมากๆ

วัดสว่างหัวนาคำ

Credit:Chill Chill Trip

ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมานี้ อุโบสถสิมอีสานมีความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์ และเป็นจุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่มีความสนใจในศิลปะและประวัติศาสตร์อีสาน

วัดสว่างหัวนาคำ

Credit:Chill Chill Trip

ส่วนอาคารเสนาสนะประกอบด้วย: อุโบสถสิมอีสานไม้พันชาติ/ลวดลายประติมากรรมไม้แกะสลัก ศาลาการเปรียญ ศาลาทานบารมี วิหารหอพระ (ที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระพุทธวิชัยญาณ องค์จำลอง) วิหารลานโพธิ์ หอกลอง-หอระฆัง ซุ้มประตูทางเข้าวัด (ติดถนนใหญ่) ซุ้มประตูเข้าวัด (ด้านทิศตะวันออก) ซุ้มประตูไม้โบราณ

วัดสว่างหัวนาคำ

Credit:Chill Chill Trip

สิ่งประดิษฐานภายในวัดประกอบด้วย: หลวงพ่อพุทธวิชัยญาณ (หลวงปู่ใหญ่) หลวงพ่อพุทธวิชัยญาณ องค์จำลอง (หลวงพ่อศิลา) หลวงพ่อพุทธวิชัยญาณ องค์จำลอง เนื้อทอสัมฤทธิ์ลงลักปิดทอง พระพุทธรูปลานโพธิ์ รูปเหมือนสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พฺรหฺมรํสี รูปเหมือนอดีตเจ้าอาวาสหลวงปู่เจียม และหลวงปู่ลี

วัดสว่างหัวนาคำ

Credit:Chill Chill Trip

ภายในศาลาทานบารมี ซึ่งเป็นศาลาทรงไทย สร้างขึ้นจากเสาไม้ทั้งหลัง และให้ผู้อยากทำบุญได้ทำบุญกัน

วัดสว่างหัวนาคำ

Credit:Chill Chill Trip

เพื่อนสามารถถ่ายรูป เช็คอิน ชื่นชมความงามของวัฒนธรรมอีสานอย่างเต็มที่ อยากให้ทุกคนได้ใช้เวลาที่นี่ช้าๆ แล้วจะอิ่มใจประทับใจ

วัดสว่างหัวนาคำ

Credit:Chill Chill Trip

ร่มผ้าขาวม้า เป็นร่มที่ทำมาจากภูมิปัญญาและเป็นสินค้าที่คนที่นี่ภูมิใจมากๆ มาช่วยกันอุดหนุนนะคะ

วัดสว่างหัวนาคำ

Credit:Chill Chill Trip

วัดสว่างหัวนาคำ

  1. 1 คลองหลวงคาเฟ่ ปทุมธานี ความสุขเล็กๆ กับอาหารรสดี นั่งทานข้าวในซุ้มไม้ไผ่ พร้อมชมเหล่าปลาคาร์ปว่ายน้ำไปมา
  2. 2 วัดคาวาซากิไดชิ Kawasaki Daishi Temple วัด 1 ใน 3 ของคันโตที่มีชื่อเสียงเรื่องปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายในจังหวัดคานากาว่า Kanagawa
  3. 3 ภูเขามิตาเกะ (Mount Mitake) ชมธรรมชาติ ทริปเดินป่าสบายๆ เดินทางง่ายจากโตเกียว
  4. 4 Hie shrine ศาลเจ้าฮิเอะ ขอพรเรื่องธุรกิจเจริญรุ่งเรือง สมหวังเรื่องความรัก ในโตเกียว Tokyo
  5. 5 วัดไผ่โรงวัว สุพรรณบุรี ไหว้พระขอพร ชมรูปปั้นเตือนใจเส้นทางสายบุญ เดินชมตลาดท้องถิ่น