โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ คาเฟ่สุดอาร์ท ความคลาสสิกสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 5 พร้อมชมงานดีไซน์ล้ำสมัย การแสดงแสงไฟ อ่านหนังสือเก่าๆ จิบกาแฟในบรรยากาศเดิมๆ

อาคารเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เมื่อปีพ.ศ.2438 ถือกันว่าเป็นโรงพิมพ์แห่งแรกของประเทศไทยจนกลายมาสู่คาเฟ่

โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ

โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ ตั้งอยู่บนถนนบำรุงเมือง ย่านเสาชิงช้าของกรุงเทพฯ เป็นโบราณสถานขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากรในชื่อ “อาคารบำรุงนุกูลกิจ” ตั้งแต่ปี พ.ศ.2542

โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ

Credit:Chill Chill Trip

“อาคารหลังนี้เดิมชื่อโรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ ผู้ก่อตั้งคือ หลวงดำรงธรรมสาร (มี ธรรมาชีวะ) สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2438 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ

Credit:Chill Chill Trip

ในอดีต ที่นี่ยังเป็นโรงพิมพ์ที่ใหญ่และทันสมัยมาก เพราะมีเครื่องพิมพ์ระบบน้ำมัน มีจำนวนคนงานถึง 70 – 80 คน ทำหน้าที่แตกต่างกันไป อาคารมีพื้นที่ทั้งสิ้น 600 ตารางเมตร แบ่งเป็นชั้นบนและชั้นล่างอย่างละ 300 ตารางเมตรเท่ากัน

โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ

Credit:Chill Chill Trip

แม้ผ่านมา 127 ปี แต่ลักษณะภายนอกของ อาคารโรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ ยังคงความสวยงามอยู่มาก ซึ่งความเก่านี้คือความคลาสสสิก

โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ

Credit:Chill Chill Trip

ตัวอาคารสร้างแบบ “ก่ออิฐถือปูน” มีความสูง 2 ชั้น งดงามด้วยสถาปัตยกรรมการก่อสร้างที่ผสมผสานกันระหว่างสถาปัตยกรรมคลาสสิกและสถาปัตยกรรมวิกตอเรียน

โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ

Credit:Chill Chill Trip

ตัวอาคารตกแต่งโดดเด่นด้วยงานปูนปั้นเป็นลวดลาย และงานไม้ฉลุลายประดับเหนือหน้าต่างและบานประตู ซึ่งความแตกต่างนี้กลับดูลงตัว

โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ

Credit:Chill Chill Trip

ฝั่งซ้ายของอาคารโรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจเปิดเป็นร้านกาแฟชั่วคราว ดำเนินงานโดย Craftsman Roastery ซึ่งอดีตเคยเปิดทำการอยู่ที่บ้านอาจารย์ฝรั่ง อดีตบ้านพักของ อ.ศิลป์ พีระศรี ครั้งนี้มีกำหนดเปิดให้บริการเป็นเวลา 8 เดือนนับตั้งแต่ 5 กุมภาพันธ์ 2565

โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ

Credit:Chill Chill Trip

ด้านในมีเบเกอรี่สีสันน่าทานและจริงๆคือรสชาติอร่อย เข้ากับกาแฟมากๆ หากใครที่เป็นคอกาแฟ ด้วยบรรยากาศสถานที่แบบนี้ทำให้รู้สึกดีมากๆ

โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ

Credit:Chill Chill Trip

โดยเฉพาะอาคารนี้ ที่เจ้าของโครงการ ที่หลงรักอาคารนี้และอยากจะร่วมอนุรักษ์และสร้างความทรงจำที่ดี

โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ

Credit:Chill Chill Trip

ทำให้พยายามคิดคอนเซ็ปท์ทั้งเมนูขนมและเครื่องดื่มโดยทำให้รสชาติมีเอกลักษณ์และเข้ากับประวัติของสถานที่ นอกจากคกาแฟแล้วยังมีค็อกเทลอื่นๆด้วยนะ

โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ

Credit:Chill Chill Trip

เราสามารถแวะไป นั่งจิบกาแฟคั่วและบดด้วยเมล็ดกาแฟคุณภาพจากทั้งบราซิล โคลอมเบีย เอธิโอเปีย ลาว และไทย ที่ Craftsman Roastery ภายในอาคารโรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจได้ถึงเดือนกันยายน 2565 นี้ (อาจจะขยายอีก)

โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ

Credit:Chill Chill Trip

ภายในมีแต่เครื่องทำกาแฟและมีเตาอบสำหรับอุ่นร้อนเบเกอรี่เท่านั้น อุปกรณ์อย่างแก๊สหุงต้มที่ใช้ความร้อนสูง ผู้จัดจะไม่นำเข้ามาในอาคารโดยเด็ดขาด

โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ

Credit:Chill Chill Trip

สำหรับบริเวณย่านเสาชิงช้านี้ เป็นย่านเก่าแก่แห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ มีสถาปัตยกรรมเก่าแก่จำนวนมาก เป็นชุมชนเก่าแก่ที่น่ามาเยี่ยมชมสักครั้ง

โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ

Credit:Chill Chill Trip

เสาชิงช้าสีแดงขนาดใหญ่อายุรวมกว่า 236 ปี มีมาตั้งแต่ช่วงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ได้ทรงกำหนดให้พื้นที่บริเวณเสาชิงช้าเป็นจุดศูนย์กลางของพระนคร หรือ “สะดือเมือง”

โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ

Credit:Chill Chill Trip

ติดตามข้อมูลอัพเดทเพิ่มเติมที่

FacebookChillChillTrip
IGChillChillTrip
YouTubeChillChillTrip
ClubhouseChillChillTrip

โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ

ที่อยู่ถนน บำรุงเมือง, แขวง เสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
เวลาทำการจันทร์ – พฤหัสบดี เวลา 07.30 น. – 18.00 น. / ศุกร์ – อาทิตย์ เวลา 7.30 – 22.00 น.
Facebookโรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ
  1. 1 เฟอเรท (Ferret) วิธีเลี้ยง อาหาร นิสัยของเจ้าเฟอเรทที่มาพร้อมกับความซุกซนอันแสนน่ารัก
  2. 2 ปลาหมาน้ำ หมาน้ำ หรือเจ้าปลาตีนเม็กซิโก – ซาลาแมนเดอร์ มาทำความรู้จักสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำกันเถอะ
  3. 3 ล่องเรือเที่ยววัดปากน้ำภาษีเจริญ ชมวิถีชีวิตริมฝั่งคลองท่าต้นสายของเรือคลองภาษีเจริญ แม่น้ำสายสำคัญของกรุงเทพมหานคร
  4. 4 เที่ยวกาญจนบุรี 1 Day Trip 6 จุดเช็คอิน เที่ยววันหยุดได้ ไม่ไกลกรุงเทพ
  5. 5 CAFE THE PARK คาเฟ่วิวภูเขาฟูจิ ชิคๆริมทะเลสาบยามานาคา (Lake Yamanaka) วิวภูเขาไฟฟูจิ (Mt.Fuji) ชิมแพนเค้กแสนอร่อยสูตรต้นตำรับ