ประวัติภาพบุคคลสำคัญบนแบงค์ 1000 เยน 5000 เยน และ10000เยน ของญี่ปุ่น

เยน (円, ¥, JPY) เป็นสกุลเงินของประเทศญี่ปุ่น คำว่าเยน ภาษาญี่ปุ่นจะอ่านออกเสียงว่า เอน แต่การออกเสียง เยน ก็ถือเป็นชื่อมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลก

ประวัติบุคคลสำคัญบนแบงค์เงินเยนของญี่ปุ่น

ครั้งนี้เราพาเพื่อน ๆ มารู้จักประวัติเงินเยนของญี่ปุ่นกันค่ะ จากรูปภาพบุคคลที่อยู่บนธนบัตรของญี่ปุ่นในปัจจุบัน มีใครกันบ้างและเค้ามีความสำคัญอย่างไรถึงได้อยู่บนธนบัตรของญี่ปุ่นได้

ประวัติบุคคลบนแบงค์เงินเยนของญี่ปุ่น

Credit:Chill Chill Trip

โดยครั้งนี้เราจะมาพูดถึงธนบัตรแบงค์ 1000 เยน 5000 เยน 10000 เยน ซึ่งบุคคลบนธนบัตรก็แตกต่างกันไปค่ะ (ซึ่งลายพิมพ์อย่างละเอียด เวลาแสงส่องผ่านเราจะได้เห็นลวดลายต่าง ๆ แบบนี้ค่ะ แบงค์ 10000 เยน ถ้าเทียบเป็นเงินไทยก็ตกราว ๆ 2800-3000 เยน แล้วแต่เรทในแต่ละช่วง)

ประวัติบุคคลบนแบงค์เงินเยนของญี่ปุ่น

Credit:Chill Chill Trip

ภาพธนบัตรใบละ 10,000 เยน คือภาพของ Yukichi Fukuzawa นักปรัชญาสมัยยุคเมจิ และเป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเคโอ มหาวิทยาลัยดังของญี่ปุ่น (Keio University) และเป็นผู้เขียน “Gakugaku no Susume” สังเกตว่าญี่ปุ่นนิยมใช้นักปรัชญาหรือกวีเป็นภาพบนแบงค์ มากกว่าบุคคลสำคัญในสาขาอื่นๆ

ประวัติบุคคลบนแบงค์เงินเยนของญี่ปุ่น

Credit:Chill Chill Trip

ด้านหลังจะเป็นรูปปั้นนกโฮโอะ ของวัดเบียวโด เป็นวัดตั้งอยู่ในเมืองอูจิ จังหวัดเกียวโต สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1541 ในสมัยเฮอัง อาคารที่มีชื่อเสียงที่สุดในวัดคือ ศาลาหงส์หรือศาลาอมิตาภะ (พระอมิตาภพุทธะ) สร้างขึ้นใน พ.ศ. 1596

ประวัติบุคคลบนแบงค์เงินเยนของญี่ปุ่น

Credit:Chill Chill Trip

รูปจากสถานที่จริง โดยให้สังเกตที่บนหลังคาจะมี รูปปั้นนกโฮโอะ สีทองอยู่ ต้องตั้งใจมองหน่อยนะ ลืมถ่ายซูมใกล้ๆ มานะ

ประวัติบุคคลบนแบงค์เงินเยนของญี่ปุ่น

Credit:Chill Chill Trip

ประวัติ

Yukichi Fukuzawa เกิดเมื่อ 10 มกราคม 1835 ที่ Osaka เมืองศูนย์กลางการค้าทางตะวันตกของญี่ปุ่น ในช่วงปลายของสมัยเอโดะ (ค.ศ.1603-1868) แม้จะถือกำเนิดมาในชาติตระกูลของซามูไรแต่บิดาเป็นซามูไรในอันดับที่ไม่สูงนัก แถมบิดาของเขาได้เสียชีวิตลงตอนที่ไปทำงานที่ Osaka (โอซาก้า) ในขณะนั้นเขามีอายุเพียงหนึ่งขวบครึ่งอีก มารดาจึงพาครอบครัวกลับไปยังเมือง Nakatsu ทางเหนือของเกาะ Kyushu (ปัจจุบันคือจังหวัด Oita)
เขาได้รับการศึกษาชั้นต้นเมื่อมีอายุ 14 ถือว่าล่าช้าสำหรับตระกูลของซามูไร เนื่องจากมารดาของเธอต้องเลี้ยงดูลูกเพียงลำพัง ต่อมาหนึ่งเดือนก่อนการลงนามในอนุสัญญา Kanagawa กับสหรัฐอเมริกาที่บังคับให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศในปี 1854 พี่ชายของยูคิจิ ได้ชักชวนให้เขาไปศึกษาการผลิตปืนกลที่หมู่บ้านฮอลันดาบนเกาะ Dejima ซึ่งเป็นเกาะที่มนุษย์สร้างขึ้นในเขต Nagasaki เขาได้เรียนภาษาดัตช์ที่ Dejima เนื่องจากเป็นคนที่ขยันเรียนรู้และมีทักษะยอดเยี่ยมจึงมักถูกกลั่นแกล้ง ก่อนที่เขาจะเข้าเรียนที่ Tekijuku โรงเรียนเอกชนใน Osaka ซึ่งมีเจ้าของเป็นแพทย์ชาวญี่ปุ่น
เขาใช้เวลาศึกษาอยู่ 3 ปี โดยเขาได้เรียนวิชาฟิสิกส์ เคมี สรีรวิทยา และยังใช้เวลาว่างแปลตำราภาษาดัตช์เรื่องศิลปะในการสร้างป้อมปราการอีกด้วย
จากนั้นเขาเข้าทำงานให้ไดเมียวแห่ง Nakatsu ในฐานะอาจารย์สอน Dutch Studies ซึ่งไปประจำอยู่ที่เอโดะในปี 1858 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของ Keio Gijuku สถาบันการศึกษาขั้นสูงแห่งแรกของญี่ปุ่น ซึ่งในเวลาต่อมาพัฒนาเป็น Keio University มหาวิทยาลัยเอกชนที่มี ชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งที่ผลิตบุคลากรคุณภาพระดับประเทศหลายสาขา ในปี 1860
เมื่อเขาอาสาสมัครเข้าเป็นสมาชิกในคณะผู้แทนรัฐบาลญี่ปุ่นเดินทางไปเจรจาเกี่ยวกับสนธิสัญญาที่ San Francisco ซึ่งภายหลังกลับถึงญี่ปุ่นแล้วเขาได้รับหน้าที่แปลเอกสารทางการทูตใน Foreign Affair ให้กับโชกุน 6 วันต่อเดือนและทุ่มเทเวลาที่เหลือในงานสอนและการเขียนหนังสือ จนในที่สุดเขาตัดสินใจเปลี่ยนนโยบายการศึกษาที่ Keio University เป็นภาษาอังกฤษแทนภาษาดัตช์ และยังกระตุ้นให้คนในสังคมตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษา ซึ่งเป็นดั่งเมล็ดพันธุ์สำหรับพัฒนาประเทศ และยังส่งเสริมการใช้ตัวอักษรคานะซึ่งเป็นชุดอักษรสำหรับสตรีที่ถูกแบ่งแยกจากอักษรคันจิที่ใช้เขียนสำหรับผู้ชายในยุคซามูไร และยังเร่งให้มีการเรียนรู้ในระดับรากหญ้าเพื่อให้ประเทศเกิดความสัมฤทธิผลได้เร็วขึ้น จากคำกล่าวที่ว่า ทรัพยากรสำคัญที่ขับเคลื่อนอยู่เบื้องหลังความสำเร็จของประเทศดังคือ “ประชาชน” นอกจากนี้ยังสะท้อนแนวคิดที่ริเริ่มเรียกร้องสิทธิสตรีในสังคม Male Dominant ของญี่ปุ่นอีกด้วย

ประวัติบุคคลบนแบงค์เงินเยนของญี่ปุ่น

Credit:Chill Chill Trip

นี่เป็นรูปปั้นของ Yukichi Fukuzawa ที่ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยเคโอ เรียกได้ว่านักศึกษาของมหาลัยนี้ไม่มีใครที่จะไม่เคยเห็นรูปปั้นนี้ เพราะตั้งอยู่ใจกลางลานของมหาวิทยาลัยเลย

ประวัติบุคคลบนแบงค์เงินเยนของญี่ปุ่น

Credit:Chill Chill Trip

มาถึงแบงค์ 5000 เยนกันบ้าง ซึ่งตรงด้านหน้าแบงค์เป็นรูปของ Ichiyo Higuchi สตรีนักเขียนและกวีในสมัยยุคเมจิ

ประวัติบุคคลบนแบงค์เงินเยนของญี่ปุ่น

Credit:Chill Chill Trip

ด้านหลังของแบงค์ 5000 เยน เป็นภาพวาดดอกไอรีส (คะกิซึบะกะ-ซุ) ของโอกะตะ โกริน

ประวัติบุคคลบนแบงค์เงินเยนของญี่ปุ่น

Credit:Chill Chill Trip

นี่คือดอกไอรีส ซึ่งจริง ๆ ดอกไอรีสมีหลายสีมาก แต่สีที่เห็นบ่อย ก็จะเป็นสีม่วงอมน้ำเงิน สีขาว และสีเหลือง

ประวัติบุคคลบนแบงค์เงินเยนของญี่ปุ่น

Credit:Chill Chill Trip

ประวัติ

นัทสึโกะ อิชิโย (夏子 一葉 Natsuko Ichiyo) เกิดวันที่ 2 พฤษภาคม 1872 ที่โตเกียว มีพี่น้อง 5 คน ที่บ้านมีฐานะปานกลาง อิชิโยชอบอ่านหนังสือมาตั้งแต่เด็ก โดยเฉพาะหนังสือที่มีภาพประกอบ พ่อของเธอจึงสนับสนุนให้เธอได้รับการศึกษาเช่นเดียวกับผู้ชาย
เมื่ออายุ 14 ปี เธอก็ได้เรียนวิชาด้านบทกวีและวรรณกรรม แต่ก็มีปัญหาทางบ้านเรื่องค่าใช้จ่ายหลังจากพ่อของเธอเสียชีวิต เธอจึงทำงานเป็นครูสอนหนังสือให้กับสตรีชั้นสูงเพื่อหารายได้ และกลายเป็นเสาหลักของครอบครัว แต่ด้วยความอยากเรียนรู้เธอได้ไปสมัครเป็นลูกศิษย์ของนักเขียนท่านหนึ่งของหนังสือโตเกียวอาซาฮี
จนกระทั่งปี 1894 เธอได้เขียนผลงานเรื่อง たけくらべ เป็นเรื่องราวที่ถ่ายทอดจากประสบการณ์ต่าง ๆ ของตัวเธอเอง ผลงานนี้ทำให้เธอเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ในเดือนมกราคมปี 1895 มีการพิมพ์ซ้ำเรื่องนี้ถึง 7 ครั้ง หลังจากนั้นในปีเดียวกันก็มีผลงานตามมาอีกหลายเรื่องที่ทำให้เธอมีชื่อเสียงอย่างมาก
ในช่วงกลางปี 1896 เธอเริ่มมีอาการปวดศีรษะอย่างหนัก จนในที่สุดเธอก็ต้องพักงานเขียนลง เนื่องจากตรวจพบว่าเธอเป็นวัณโรคและเสียชีวิตลงในวันที่ 23 พฤศจิกายน 1896 รวมอายุได้ 28 ปี 7 เดือนเท่านั้น และในปีถัดมาได้มีการตีพิมพ์หนังสือรวมเล่มผลงานเขียนของอิชิโยออกมา เพื่อเป็นการรำลึกถึงผลงานเธอ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2004 ทางธนาคารญี่ปุ่นได้นำภาพของอิชิโยมาพิมพ์ลงบนธนบัตรราคา 5,000 เยน และใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นภาพสตรีคนที่ 3 ที่ปรากฏบนธนบัตรของประเทศญี่ปุ่น

ประวัติบุคคลบนแบงค์เงินเยนของญี่ปุ่น

Credit:Chill Chill Trip

มาต่อที่แบงค์ 1000 เยนกันเลย แบงค์นี้ถูกใช้มาตั้งแต่ปีค.ศ. 1945 ด้านหน้าเป็นภาพเหมือนของนายแพทย์ Noguchi Hideyo ถือเป็นนายแพทย์คนสำคัญของญี่ปุ่น เจ้าของคำคมที่ว่า ความอดทนมีรสขม แต่ผลของมันมีรสหวาน จากลูกชาวนาผู้ยากจน มาอยู่บนธนบัตร 1000 เยน มาฟังเรื่องราวของเค้ากัน

ประวัติบุคคลบนแบงค์เงินเยนของญี่ปุ่น

Credit:Chill Chill Trip

ประวัติ

ดร.โนงูจิ ฮิเดโยะ นั้นเดิมมีชื่อว่า โนงูจิ เซซากุ เกิดวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ.1876 ที่จ.ฟุกุชิมะ ท่านเกิดในครอบครัวชาวเกษตรกรที่ยากจน มีอาชีพทำนา แต่เมื่ออายุ 1 ขวบได้เกิดอุบัติเหตุตกลงไปในเตาหลุมไฟกลางบ้าน มือข้างซ้ายนั้นตกไปในกองถ่านไฟ นิ้วทั้งหมดถูกหลอมรวมไหม้ด้วยกัน จนไม่สามารถใช้งานได้
เมื่อถึงวัยเข้าเรียน ก็ได้เข้าเรียนในระดับประถมศึกษาแต่ไม่ค่อยชอบไปโรงเรียน เนื่องจากถูกล้อเลียนเรื่องมือที่พิการและความยากจนของท่าน ทำให้ไม่มีแม้แต่อาหารกลางวันเอาไปโรงเรียน
จุดเปลี่ยนในชีวิตเกิดขึ้นเมื่อวันหนึ่ง ท่านไปเห็นมารดาทำนาด้วยความเหนื่อยล้า ตัวเองก็อยากไปช่วยแต่สภาพมือที่ใช้งานไม่ได้ จึงตระหนักว่าอาชีพเกษตรกรไม่เหมาะกับตัวเองจึงหันเห วางเป้าหมายชีวิตใหม่เพื่อจะได้ทำอาชีพอื่นๆที่มีอนาคตที่ดีได้ จนผลการเรียนดีขึ้นเรื่อยๆ เพื่อนยอมรับ นั่นยิ่งทำให้ท่านเกิดความมุ่งมั่นมากขึ้น ขยัน จนเรียนสำเร็จกว่าเด็กคนอื่นๆ
แม้มีความโชคดีเรื่องความฉลาดในการเรียน แต่ความทุกข์ของก็มาจากความยากจนที่ไม่มีแม้แต่เงินซื้อตำราเรียน จึงต้องไปขอคักลอกตำราเรียนจากรุ่นพี่บ้าง ขอหนังสือเก่ามาบ้างและมาคัดเขียนใหม่เองหมด ทำให้ผลการเรียนเป็นอันดับหนึ่งในชั้นเรียน

ประวัติบุคคลบนแบงค์เงินเยนของญี่ปุ่น

Credit:Chill Chill Trip

คุณโนงูจิ เคยได้รับการผ่าตัดแยกนิ้วมือครั้งนึงแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ทำให้ฝันที่จะได้เป็นครูสลายลง ดังนั้นเค้าจึงขอร้องคุณหมอที่ผ่าตัด ให้ฝากเข้าทำงานในโรงเรียนแพทย์โดยทำงานเป็นภารโรง ช่วยดูแลคนป่วย แต่ก็ขยันและหมั่นศึกษาหาความรู้เสมอ
จนเมื่อมีหนทาง ก็ได้เดินทางเข้าโตเกียวและได้เรียนกวดวิชาแพทย์ตามคำแนะนำ และมุ่งมั่นเพื่อสอบใบประกอบวิชาชีพแพทย์ ปีนั้นมีคนสอบเข้าเรียนแพทย์ได้ 4 คนจาก 80 คน ซึ่งคุณโนงูจิคือหนึ่งในนั้น ด้วยคะแนนสอบอันดับ 1 และจะเป็นหมอในอายุเพียง 20 ปี แต่ทุกอย่างก็ไม่ได้สวยงามเพราะมือที่พิการ เค้าจึงได้หันไปทางงานวิชาการโดยมุ่งมั่นทำงานด้านวิจัยแทน ซึ่งคืองานวิจัยเชื้อโรค
ปี 1898 คุณหมอโนงูจิ ได้เริ่มทำงานที่สถาบันวิจัยโรคติดต่อคิตะซาโตะชื่อดัง จนมีวันนึงนายแพทย์ไซม่อน แฟคเนอร์ จากอเมริกาได้เดินทางมาที่นี่ คุณโนงูจิได้รับคัดเลือกให้ไปเป็นล่ามแปลภาษาอังกฤษ และนี่เป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่
คุณหมอโนงูจิ เซซากุ ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น โนงูจิ ฮิเดโยะ เนื่องจากชื่อเดิมไปพ้องกับตัวละครไม่ดีในนิยายชื่อดังสมัยนั้น โดยคุณครูวัยประถมเป็นคนคิดชื่อใหม่ให้
ผลงานชิ้นเอกช่วงนี้คือ คุณหมอได้ไปทำงานที่ด่านตรวจกักกันเชื้อโรคที่โยโกฮาม่า และพบเชื้อกาฬโรคในเลือดของผู้ป่วยเป็นคนแรก ช่วยป้องกันให้คนมากมายไม่ต้องติดเชื้อ จากนั้นจึงถูกรัฐบาลส่งไปช่วยทีมแพทย์ต่อที่ประเทศจีน

ประวัติบุคคลบนแบงค์เงินเยนของญี่ปุ่น

Credit:Chill Chill Trip

คุณหมอเกิดความมุ่งมั่นมากขึ้น โดยออกเดินทางไปอเมริกา ในปี 1900 เพื่อร่วมกับทีมคุณหมอไซม่อน แฟคเนอร์ มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย โดยเป็นเลขาของคุณหมอไซม่อน
ปี 1902 คุณหมอถูกแนะนำให้ไปทำงานที่สถาบันชื่อดังร็อกกี้เฟลเลอร์
ปี 1905 เกิดการระบาดของซิฟิลิส คุณหมอจึงหาวิธีเพาะเชื้อสไปโรคีท
ปี 1912 ดร.โนงูจิ ฮิเดโยะ สามารถเพาะเชื้อซิฟิลิสได้สำเร็จเป็นคนแรกของโลก ทำให้มีวิธียับยั้งการแพร่ระบาดของโรคได้
ปี 1913 ค้นพบการแพร่กระจายของเชื้อที่ไปยังสมองของคนป่วย เป็นคนแรกของโลก สร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศญี่ปุ่นมาก จนได้รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระจักรพรรดิ
จากนั้นจึงได้ร่วมเป็นอาสาสมัครไปร่วมหาสาเหตุของไข้เหลืองที่ประเทศเอกวาดอร์
ปี 1918 คุณหมอได้ค้นพบสาเหตุไข้เหลืองว่ามีพาหะมาจากยุง และสามารถเพาะเชื้อพร้อมผลิตวัคซีนป้องกันโรคไข้เหลืองชื่อว่า วัคซีนโนงูจิ โดยใช้ในทวีปอเมริกาใต้ได้ดี
แต่เมื่อเกิดการแพร่ระบาดไข้เหลืองรอบ 2 ที่ทวีปแอฟริกา คุณหมอทุ่มเทอย่างหนักมาก จนกระทั่งเสียชีวิตในวัย 51 ปี เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 1928 ด้วยโรคไข้เหลืองที่ประเทศกานา สร้างความโศกเศร้าให้แก่วงการแพทย์มาก ร่างของคุณหมอถูกฝังไว้ที่นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา
สิ่งที่ยังคงเหลือไว้ให้พวกเราคือ สถาบันวิจัยทางการแพทย์ โนงูจิ ฮิเดโยะ ที่ประเทศกานา และโรงเรียนโนงูจิ ฮิเดโยะที่ประเทศเปรู และปี 2004 ประเทศญี่ปุ่นได้นำภาพของท่านมาขึ้นบนธนบัตร 1000 เยน เพื่อเป็นเกียรติและระลึกถึงคุณงามความดี มีการจำลองสถานที่อยู่อาศัยวัยเด็กของท่าน เอามาเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ ที่จ.ฟุกุชิมะ
ส่วนภาพทะเลสาบโมโตสุนั้น มาจากภาพถ่ายของอาจารย์โอคาดะ โคโย (Mr. Koyo Okada)ผู้รักการถ่ายภาพฟูจิมากและมีชื่อเสียงที่สุดในสมัยก่อน มีแกลอรี่ที่จ.ยามานาชิ

ประวัติบุคคลบนแบงค์เงินเยนของญี่ปุ่น

Credit:Chill Chill Trip

ทุกท่านที่ปรากฎบนธนบัตรนั้น ล้วนเป็นบุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจ และใช้ความมุมานะ พยายามไม่ยอมแพ้ ใช้ความอดทนอดกลั้น ลงมือทำจริง จนประสบความสำเร็จ

ประวัติบุคคลบนแบงค์เงินเยนของญี่ปุ่น

Credit:Chill Chill Trip

เมื่อใดที่เราหยิบธนบัตรออกมาใช้ ให้ระลึกถึงสิ่งที่เป็นคุณงามความดีของแต่ละท่านนี้ รวมถึงภาพทุกอย่างที่ปรากฎบนธนบัตรนั้นล้วนมีที่มาที่ไป จะทำให้เตือนสติเราไว้ได้เสมอ ในการใช้ชีวิตอย่างคุ้มค่า

ประวัติบุคคลบนแบงค์เงินเยนของญี่ปุ่น

Credit:Chill Chill Trip

  1. 1 กระรอกบิน ชูก้า ไกลเดอร์ (Sugar glider) มารู้จักนิสัย ราคา การเลี้ยงดู อาหาร ตากลมแบ๊วแสนน่ารักแต่นิยมการผาดโผน
  2. 2 ล่องเรือเที่ยววัดปากน้ำภาษีเจริญ ชมวิถีชีวิตริมฝั่งคลองท่าต้นสายของเรือคลองภาษีเจริญ แม่น้ำสายสำคัญของกรุงเทพมหานคร
  3. 3 คลองหลวงคาเฟ่ ปทุมธานี ความสุขเล็กๆ กับอาหารรสดี นั่งทานข้าวในซุ้มไม้ไผ่ พร้อมชมเหล่าปลาคาร์ปว่ายน้ำไปมา
  4. 4 เฟอเรท (Ferret) วิธีเลี้ยง อาหาร นิสัยของเจ้าเฟอเรทที่มาพร้อมกับความซุกซนอันแสนน่ารัก
  5. 5 ลิงมาโมเสท Marmoset อาหาร การเลี้ยง สิ่งที่ควรรู้ก่อนเลี้ยงเจ้าลิงตัวเล็ก ที่มีขนาดแค่500 – 700 กรัม