สูตรมิโซะคุณย่า ส่งต่อรุ่นหลานตัวน้อย เชื่อมโยงสายใยด้วยมิโซะฉบับครอบครัว
การทำมิโซะเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมซึ่งถ่ายทอดผ่านวัฒนธรรมอาหารต่างๆ ซึ่งมิโสะสามารถนำไปทำอาหารได้หลากหลาย อย่างเช่นมิโซะซุป เจ้าอาหารถ้วยเล็กๆ ที่เรียบง่าย แต่เป็นเสมือนจิตวิญญาณของชาวญี่ปุ่นที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานมากกว่า 1,700 ปี มาแล้ว
สูตรทำมิโซะของคุณย่า
วัตถุดิบที่ต้องใช้
ถั่วเหลือง 2 กิโลกรัม
โคจิ 2 กิโลกรัม (ถ้าหาซื้อโคจิแห้งไม่ได้ ให้ใช้ข้าวหมากของไทย แต่คิดว่าฟูจิที่สุขุมวิทมี)
เกลือ 900 กรัม
ผ้าขาวบาง
กระดาษหนังสือพิมพ์ (สำหรับปูพื้นกันพื้นเลอะ)
ภาชนะสำหรับทำและหมัก
Credit:Chill Chill Trip
โถเซลามิกขนาด 20 ลิตรและกะบะไม้ นำออกมาล้างด้วยน้ำร้อนและนำไปตากแดดให้แห้ง
Credit:Chill Chill Trip
Credit:Chill Chill Trip
นำถั่วเหลืองแช่น้ำทิ้งค้างไว้หนึ่งคืน … เพื่อให้เปลือกชั้นนอกนุ่มและหลุดออก
Credit:Chill Chill Trip
ก่อนนำถั่วเหลืองไปล้างซาว ๆ สักหนึ่งถึงสองน้ำ และนำไปต้มด้วยไฟอ่อน และหมั่นตักฟองออกจนถั่วเหลืองสุกจนนิ่ม
Credit:Chill Chill Trip
เมื่อถั่วเหลืองสุกจะมีลักษณะเป็นแบบนี้ และนำไปปั่น (หากใครไม่มีเครื่องปั่นให้นำใส่ถุงและค่อยๆ ให้สากหรือขวดแก้วกลิ้งๆ บดเอาได้นะคะ)
Credit:Chill Chill Trip
นำไปปั่นหยาบๆ นำน้ำที่ใช้ต้มถั่วเหลืองใส่เข้าไปนิดหน่อยเพื่อปั่นง่ายขึ้น (หรือใครจะปั่นละเอียดก็ได้นะ แต่ที่บ้านชอบกินแบบให้มีเม็ดๆ เวลาเคี้ยว อร่อยดี) ที่เมืองไทยหากหาโคจิแบบแห้งไม่ได้สามารถใช้ข้าวหมากทำได้ ให้นำน้ำข้าวหมากมาปั่นแทนน้ำต้มถั่วเหลือง
Credit:Chill Chill Trip
ปั่นเสร็จให้เทใส่กะบะผสมและกดให้แผ่ออกเพื่อให้คลายความร้อนลงนิดหน่อย ก่อนเตรียมผสมส่วนผสมอื่นๆ
Credit:Chill Chill Trip
ใส่เกลือและโคจิลงไป ใส่เกลือ 600 กรัม โคจิ 2 กิโลกรัม (เกลืออีก 300 กรัม เอาไว้โรยแต่ละชั้นตอนนำลงไปหมัก)
Credit:Chill Chill Trip
ค่อยๆ ใช้มือผสมให้ทุกอย่างเข้ากันให้ดี (แต่ค่อย ๆ นะคะ เพราะเราต้องผสมตอนที่ยังอุ่น ๆ อยู่นะคะ)
Credit:Chill Chill Trip
จากนั้นปั้นให้เป็นก้อนกลมๆ ขนาดเท่ากำมือหรือใหญ่กว่านิดหน่อย
Credit:Chill Chill Trip
Credit:Chill Chill Trip
นำเกลือโรยที่ก้นโถหมักก่อนเป็นชั้นแรก
Credit:Chill Chill Trip
นำถั่วเหลืองปั้นกลม ๆ ใส่ลงไปและใช้กำปั้นค่อย ๆ กดให้แน่น
Credit:Chill Chill Trip
เมื่อเต็มหนึ่งชั้นให้โรยด้วยเกลือพอๆกับที่โรยก้นโถครั้งแรก
Credit:Chill Chill Trip
ทำเหมือนเดิมจนถั่วเหลืองหมด โรยเกลือปิดท้ายอีกครั้ง เมื่อทำจนหมดเสร็จแล้วจะเป็นแบบนี้
Credit:Chill Chill Trip
ให้นำผ้าขาวบางที่มีขนาดใหญ่พอสมควรคลุมมิโซะไว้
Credit:Chill Chill Trip
และใช้ฝาไม้ปิดทับ นำตุ้มน้ำหนักวางทับอีกทีเพื่อให้แน่น (ถ้าที่ไทยไม่มีตุ้มน้ำหนักสามารถใช้ครกหินที่ไม่ได้ใช้งานมาวางทับได้นะคะ)
Credit:Chill Chill Trip
ใช้พลาสติกคลุมและให้เชือกผูกปากโถหมักให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันลมและแมลง
Credit:Chill Chill Trip
นี่คือมิโซะที่พร้อมนำมาปรุงอาหารแล้ว แต่ต้องตักมิโซะใส่กระปุก แบ่งออกมาใช้ทีละน้อยนะ และที่โถหมักหลังจากตักมาใช้ทุกครั้งต้องปิดให้สนิทเหมือนเดิม
Credit:Chill Chill Trip
Credit:Chill Chill Trip
มิโซะที่หมักเสร็จแล้วสามารถนำมาทำอาหารได้หลากหลาย สามารถนำมาหมักปลาเพื่อถนอมอาหารหรือคนญี่ปุ่นเรียกว่าเฮจิโกะ ได้ (อารมณ์เหมือนปลาเค็มบ้านเรา ที่นี่จะหั่นบางๆ หนาประมาณหนึ่งเซ็นแล้วนำไปย่างกินกับข้าวสวยร้อนๆ )
Credit:Chill Chill Trip
สามารถนำไปทำน้ำสลัดได้ ทำข้าวปั้นหน้ามิโซะได้ หรือจะเอาไปผสมน้ำตาลนิดหน่อยและปั่น ก็สามารถจิ้มกับผักสดทาน
Credit:Chill Chill Trip
หรือจะเอาไปหมักกับผักเพื่อเป็นเครื่องเคียงไว้ทานก็ทำได้ อันนี้เอาหมักกับแตงกวา (ก่อนนำไปทานล้างมิโซะออกก่อนนะคะ)
Credit:Chill Chill Trip
สุป
หมักทิ้งไว้ประมาณสองถึงสามเดือนก็สามารถนำออกมาทานได้ เมื่อนำมิโซะเก็บใส่ขวดโหลและแช่ตู้เย็นไว้ มิโซะสามารถมีอยู่ได้ถึง 3-5 ปี (หากใช้ข้าวหมากให้หมักทิ้งไว้สักหนึ่งเดือนก็หน้าจะเอาออกมาทานได้แล้วนะคะ ยังไงก็ลองเปิดออกมาชิมดูละกันเนอะ)
รีวิวนิยม
- 1 วัดป่าธรรมอุทยาน หรือ วัดหลวงพ่อกล้วย วัดแห่งเกจิอาจารย์ดังจังหวัดขอนแก่น ศรัทธาที่มาพร้อมกับความงดงามแห่งดินแดนธรรมะ
- 2 กระรอกบิน ชูก้า ไกลเดอร์ (Sugar glider) มารู้จักนิสัย ราคา การเลี้ยงดู อาหาร ตากลมแบ๊วแสนน่ารักแต่นิยมการผาดโผน
- 3 ศาลเจ้าเสียนหลอไต้เทียนกง บางปู กราบสักการะเทพเจ้าทั้ง 5 พร้อมแก้ปีชง เดินทางสะดวก ใกล้กรุงเทพ
- 4 วัดเขาทำเทียม สุพรรณบุรี เที่ยวชมพระพุทธรูปหินแกะสลักที่หน้าผา อู่ทอง สุพรรณบุรี ใกล้กรุงเทพ ไปเช้าเย็นกลับได้
- 5 CAFE THE PARK คาเฟ่วิวภูเขาฟูจิ ชิคๆริมทะเลสาบยามานาคา (Lake Yamanaka) วิวภูเขาไฟฟูจิ (Mt.Fuji) ชิมแพนเค้กแสนอร่อยสูตรต้นตำรับ